หนังไทย ภาพยนตร์ไทย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกถ่ายทำในเมืองไทย คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ ผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย[1] พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น เป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง ได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย ในช่วงหลัง พ.ศ. 2490 ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์ไทย สตูดิโอถ่ายทำและภาพยนตร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นประเทศไทยเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นช่วงซบเซาของภาพยนตร์ไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยค่อย ๆ ฟื้นคืนกลับมา และได้เปลี่ยนไปใช้ฟิล์ม 16 มิลลิเมตรในการผลิตภาพยนตร์หลาย 100 เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาพยนตร์แนวแอ็คชั่น และเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมืองและสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี 2510-2522 ซึ่งเป็นช่วงที่วงการภาพยนตร์ไทยเริ่มเปลี่ยนมาใช้ฟิล์ม 35 มม. เสียงในฟิล์มแบบมาตรฐานสากลแทนฟิล์ม 16 มม. และการพากย์สด
ในช่วงเวลานั้นผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์แอ็กชั่นที่โดดเด่นที่สุดคือฉลอง ภักดีวิจิตร เป็นที่รู้จักภายใต้ชื่อ พี ฉลอง หรือ ฟิลิป ฉลอง ในระดับสากล ด้วยความคิดสร้างสรรค์ประกอบกับความต้องการที่จะนำภาพยนตร์ไทยออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ ทำให้ผลงานของฉลองมีความเป็นสากล แตกต่างจากหนังไทยในเวลานั้น ฉลองกลายเป็นผู้กำกับชาวไทยคนแรกที่สามารถทำกำไรจากการเจาะตลาดต่างประเทศได้สำเร็จ จากภาพยนตร์แอคชั่นปี 2516 เรื่อง ‘ทอง'(S.T.A.B.) ต่อมาภาพยนตร์ไทยในช่วงปี พ.ศ. 2530-2539 โดยในตอนต้นทศวรรษวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ นอกจากภาพยนตร์ประเภทวัยรุ่นแล้ว หนังผี และหนังบู๊ รวมทั้งหนังโป๊ และหนังเกรดบี ก็มีการผลิตมามากขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยมีภาพยนตร์ที่มุ่งสู่ตลาดโลก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง ต้มยำกุ้ง ที่สามารถขึ้นไปอยู่บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิสในประเทศสหรัฐอเมริกา และยังมีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เป็นที่ยอมรับในเทศกาลภาพยนตร์ ล่าสุด ภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ กำกับโดยอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ จากงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ครั้งที่ 63 นับเป็นภาพยนตร์จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรื่องแรกที่ได้รับรางวัลนี้ ส่วนการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนได้มีการจัดเทศกาลภาพยนตร์ และการมอบรางวัลทางภาพยนตร์อยู่หลายโครงการ
[read more]
ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ถือว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีนักแสดงไทยทั้งหมด ชาวสยามได้รู้จักและชื่นชมซีเนมาโตกราฟ ประดิษฐกรรมภาพยนตร์ของตระกูลลูมิแอร์แห่งฝรั่งเศส โดยนักฉายภาพยนตร์เร่คนหนึ่ง นาม เอส. จี. มาร์คอฟสกี เข้ามาจัดฉายเก็บค่าดูจากสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2440 ณ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ กรุงเทพ ชาวสยามเรียกมหรสพนี้ว่า หนังฝรั่ง เป็นมหรสพฉายแสงเล่นเงาบนจอผ้าขาว ทำนองเดียวกับ หนังใหญ่ หนังตะลุง มหรสพดั้งเดิมที่ชาวสยามรู้จักกันดีอยู่แล้ว ปี พ.ศ. 2447 คณะฉายภาพยนตร์แบบหนังเร่ชาวญี่ปุ่นนำหนังเข้ามาฉาย โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์การสู้รบระหว่าง ญี่ปุ่นกับรัสเซีย เมื่อเห็นว่าการฉายหนังครั้งแรกได้ผลดี จึงกลับมาฉายหนังเร่ในเมืองไทยอีกครั้ง และครั้งนี้ได้สร้างโรงภาพยนตร์ชั่วคราวขึ้น จนในที่สุดตั้งโรงฉายหนังฝรั่งเป็นโรงถาวรรายแรกของสยาม เปิดฉายหนังประจำ บริเวณหลังวัดตึก ถนนเจริญกรุง ชาวสยามจึงได้ดูหนังฝรั่งกันทุกคืน จึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเรียกมหรสพชนิดนี้ว่า หนังญี่ปุ่น แทนคำว่าหนังฝรั่ง พ.ศ. 2465 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีกลุ่มนักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกันจากบริษัทยูนิเวอร์ซัล
ได้มาถ่ายภาพยนตร์ในประเทศไทยเรื่อง นางสาวสุวรรณ โดยได้รับความช่วยเหลือ จากกรมมหรสพหลวงและกรมรถไฟหลวง โดยใช้นักแสดงไทยทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเมืองไทย โดยมีนายเฮนรี่ แมคเรย์ กำกับการแสดง นายเดล คลองสัน ถ่ายภาพ นำแสดงโดย ขุนรามภรตศาสตร์ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร และหลวงภรตกรรมโกศล ซึ่งถือได้ว่าทั้งสามได้เล่นเป็นพระเอก นางเอกและผู้ร้าย คนแรกของเมืองไทย ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ออกฉายในกรุงสยามเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ท่ามกลางความตื่นเต้นของประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 คณะสร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวูดอีกคณะ เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “ช้าง” โดยใช้ผู้แสดงเป็นชาวสยามทั้งหมดเช่นกัน ในเวลาที่ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง ออกฉายในประเทศสยามนั้น คนไทยได้สร้างหนังบันเทิงและนำออกฉายแล้วหลายเรื่อง ผู้คนจึงไม่ค่อยตื่นเต้นกับภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กันมากเท่าที่ควร
บริษัทกรุงเทพภาพยนตร์สร้างหนังเรื่องแรกเสร็จ ให้ชื่อเรื่องว่า โชคสองชั้น เนื้อเรื่องแต่งโดย หลวงบุณยมานพพานิช (อรุณ บุณยมานพ) กำกับการแสดงโดย หลวงอนุรักษ์รถการ (เปล่ง สุขวิริยะ) ถ่ายภาพโดยหลวงกลการเจนจิต ผู้แสดงเป็นพระเอกคือ มานพ ประภารักษ์ ซึ่งคัดมาจากผู้สมัครทางหน้าหนังสือพิมพ์ ม.ล. สุดจิตร์ อิศรางกูร นางเอกละครร้องและละครรำมีชื่ออยู่ในขณะนั้น หลวงภรตกรรมโกศล ตัวโกงจากเรื่อง นางสาวสุวรรณ แสดงเป็นผู้ร้าย ภาพยนตร์ออกฉายเป็นครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ได้รับการตอบรับจากประชาชนจำนวนมาก อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรก ที่มีมหาชนไปดูกันมากที่สุด ได้การยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย อีกเดือนเศษต่อมา บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย จึงสร้างหนังของตนเรื่อง ไม่คิดเลย สำเร็จออกฉายในเดือนกันยายนปีนั้น
ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องต่างเป็นภาพยนตร์เงียบที่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้น ทั้งสองบริษัทได้พยายามสร้างภาพยนตร์เรื่องต่อ ๆ มา และมีผู้สร้างภาพยนตร์รายใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ดารายอดนิยมที่มีชื่อเสียงในยุคบุกเบิกนี้ คือ แม่น ชลานุเคราะห์ และ แฉล้ม บัวเปลี่ยนสี (พระเอกหนังบู๊คนแรกของไทย) ปี พ.ศ. 2470 เป็นปีที่เริ่มยุคหนังเสียง ที่เรียกว่า ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม (sound on film) หรือ ภาพยนตร์พูดได้ (talkie) ของฮอลลีวู้ด ปี พ.ศ. 2471 ก็เริ่มมีผู้นำอุปกรณ์และภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเข้ามาฉายในกรุงเทพ ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก โดยพี่น้องวสุวัต ประเดิมถ่ายทำได้แก่ภาพยนตร์ข่าว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จนิวัต พระนคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ต่อมา ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ออกฉาย สู่สาธารณะที่ โรงภาพยนตร์พัฒนากร ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2474 ได้รับความชื่นชม ต่อมา พี่น้องวสุวัต ซึ่งขณะนั้นเรียกชื่อ กิจการสร้างภาพยนตร์ของพวกตน เป็นทางการว่า บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง
ภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง ถือเป็นภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก ฉายในช่วงวันขึ้นปีใหม่ เดือนเมษายน พ.ศ. 2475 ซึ่งพิเศษกว่าทุกปีเพราะเป็นปีที่รัฐบาลจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศจะเดินทางเข้ามาในเมืองหลวงมากกว่าปรกติ ภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง จึงประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ยุคนี้จัดว่าเป็นยุคทองยุคหนึ่งของวงการหนังไทย เพราะบริษัทเสียงศรีกรุงสร้างหนังตามที่เห็นว่าเหมาะสม และยังได้พัฒนาการสร้างหนังอยู่ตลอดเวลา หนังของบริษัทนี้ได้รับการต้อนรับในทุกแห่ง ยังเป็นที่กำเนิดของดาราคู่แรกของ วงการภาพยนตร์ไทย คือ จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎ และยังเกิดบริษัทคู่แข่งอย่าง บริษัทไทยฟิล์มของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ,พจน์ สารสิน ,หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ ,ประสาท สุขุม และ ชาญ บุนนาค
ภาพยนตร์เงียบค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลงไปและถูกแทนที่โดยภาพยนตร์เสียง ภาพยนตร์นำเข้าหลายเรื่องไม่มีบรรยายไทยจึงจำเป็นต้องพากย์เสียงบรรยาย นักพากย์ที่มีชื่อเสียง คือ ทิดเขียว (สิน สีบุญเรือง) ต่อมา ทิดเขียวก็ได้ผันตัวเองไปเป็นนักพากย์หนังพูดด้วย โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทิดเขียวทดลองพากย์เป็นภาพยนตร์อินเดีย เรื่อง อาบูหะซัน ด้วยความคึกคักของกิจการภาพยนตร์ต่างประเทศพากย์ไทย ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยบางรายซึ่งไม่มีทุนรอนมากนักเริ่มมองเห็นทางที่จะสร้างภาพยนตร์ให้ประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องลงทุนมากมายวิธีดังกล่าวคือ ลงมือถ่ายทำโดยไม่บันทึกเสียงเช่นเดียวกับภาพยนตร์เงียบ หลังจากนั้น จึงเชิญนักพากย์ฝีมือดีมาบรรเลงเพลงพากย์ในภายหลัง ผู้ที่เริ่มบุกเบิกวิธีดังกล่าว คือ บริษัทสร้างภาพยนตร์ 2 ราย ได้แก่ บริษัทบูรพาภาพยนตร์ และบริษัทหัสดินทร์ภาพยนตร์
ซึ่งได้ทดลองสร้างหนังเรื่อง อำนาจความรัก และ สาวเครือฟ้า ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างดียิ่ง จึงทำให้เกิดผู้สร้างรายเล็กรายใหญ่ตามมาหลายราย ในช่วงปี พ.ศ. 2483 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป ได้ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนฟิล์มถ่ายภาพยนตร์ขนาด 35 มม. ผู้สร้างหนังในประเทศไทยจึงหันมาใช้ฟิล์มขนาด 16 มม. แทนฟิล์มขนาด 35 มม. กิจการหนังพากย์สามารถยืนหยัดจนผ่านพ้นวิกฤตการณ์ไปได้ด้วยการหันมาใช้ฟิล์ม 16 มม. ซึ่งยังพอหาได้จากท้องตลาด ดังนั้น ตลอดเวลาที่เกิดสงครามจึงมีหนังพากย์ 16 มม. ออกฉายโดยตลอดแม้จะไม่ต่อเนื่องก็ตาม ในช่วงสงคราม ผู้สร้างหนังหลายรายสามารถสร้างหนังออกมาได้เรื่อย ๆ การสร้างหนังไปหยุดชะงักลงอย่างถาวรก็ในช่วงปลาย ๆ สงคราม ทั้งนี้เพราะในช่วงเวลานั้น กรุงเทพถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักหน่วงทั้งกลางวันกลางคืน ทำให้ไฟฟ้าดับอยู่เสมอ โรงหนังหลายโรงจึงต้องปิดกิจการชั่วคราว
ภาพยนตร์เรื่องอินทรีทอง นำแสดงโดย พระนางคู่ขวัญ ‘มิตร-เพชรา’ิ ผู้สร้างหนังไทยหันมานิยมสร้างด้วยฟิล์ม 16 มิลลิเมตร แทน 35 มิลลิเมตร ที่เคยสร้าง ภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตรเรื่อง สุภาพบุรุษเสือไทย ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ละออ ทิพยวงศ์ สอางค์ ทิพยทัศน์ ประชุม จุลละภมร และเกื้อกูล อารีมิตร ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทั้งในด้านรายได้และคำชมเชย การสร้างภาพยนตร์ไทยในระบบ 16 มม. ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แม้ว่าภาพยนตร์ที่ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม. จะไม่จัดว่าได้มาตรฐาน แต่การถ่ายทำสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว สามารถล้างฟิล์มแล้วนำออกฉายได้เลยแล้ว อีกทั้งต้นทุนต่ำกว่าการถ่ายทำภาพยนตร์ในระบบ 35 มม. และสามารถกอบโกยกำไรได้อย่างงดงาม จึงเป็นแรงจูงใจให้มีนักสร้างภาพยนตร์มือสมัครเล่น กระโดดเข้ามาเป็นผู้อำนวยการสร้างกันมาก โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2500-2515 ช่วงเวลา 15 ปีเต็มอันเป็นช่วงรุ่งเรือง ของภาพยนตร์ไทยในระบบ 16 มม. นี้ แต่ก็เป็นในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ และในบางครั้งภาพยนตร์เหล่านี้มีลักษณะหลายประการที่คล้ายคลึงกันจนดูเป็นสูตรสำเร็จ ที่เน้นความเพลิดเพลินเพื่อนำคนดูออกจากโลกแห่งความจริงเป็นสำคัญ โดยส่วนใหญ่จะต้องมีครบรสทั้งตลก ชีวิตเศร้าเคล้าน้ำตา บู๊ล้างผลาญรวมไปถึงโป๊บ้างในบางฉาก เรื่องราวมักเป็นแบบสุขนาฏกรรมและจบลงด้วยธรรมะชนะอธรรมเสมอ
ปัจจัยสำคัญของภาพยนตร์ยุคนี้ คือ ดาราในยุคนั้น มิตร ชัยบัญชาได้เล่นหนังเป็นพระเอกมาแล้วถึง 300 เรื่อง ส่วนฝ่ายหญิงก็จะมีดาราหญิงอยู่กลุ่มหนึ่งผลัดเปลี่ยนกันขึ้นอันดับดารายอดนิยม นับตั้งแต่วิไลวรรณ วัฒนพานิช, อมรา อัศวนนท์ และ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ทั้งนี้ ก่อนปี พ.ศ. 2502 คู่พระ-คู่นางที่ผูกขาดวงการภาพยนตร์ไทยก็ยังไม่ปรากฏ มีเพียงกลุ่มนักแสดงชั้นนำที่คนดูให้การยอมรับหรือชื่นชมเท่านั้น จนมาในปี พ.ศ. 2505-2513 พระเอก-นางเอก ของวงการภาพยนตร์ไทยจึงได้ถูกผูกขาดโดย ‘มิตร-เพชรา’ ระบบการถ่ายทำภาพยนตร์ไทยส่วนใหญ่ยุคนั้น ตัวแสดงพูดไปตามบทโดยไม่มีการบันทึกเสียง นักพากย์จึงกลายเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้ภาพยนตร์เหล่านั้นสามารถสื่อสารกับคนดูได้ ก็เป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงให้ผู้ชมมาชมภาพยนตร์ ในช่วงเวลานั้นนักพากย์ที่คนส่วนใหญ่รู้จัก ได้แก่ รุจิรา-มารศรี พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรื่อง) เสน่ห์ โกมารชุน จุรี โอศิริ สีเทา สมพงษ์ วงศ์รักไทย ฯลฯ
เมื่อเริ่มต้นทศวรรษใหม่ในปีพ.ศ. 2540 ก็มีปรากฏการณ์ที่สร้างความตื่นตัวให้แก่วงการหนังไทยอีกครั้ง นั่นคือความสำเร็จชนิดทำลายสถิติหนังไทยทุกเรื่อง ด้วยรายได้มากกว่า 75 ล้านบาทจากหนังของไทเอ็นเตอร์เทนเมนท์ เรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-2548 ทางด้านการทำรายได้มีการสร้างสถิติอย่างต่อเนื่อง ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล 20 อันดับแรกล้วนอยู่ในช่วง ปี 2540 – 2548 มีภาพยนตร์ไทย 9 เรื่องสามารถทำรายได้มากกว่า 100 ล้านบาท โดยภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (2544) รายได้ภายในประเทศกว่า 550 ล้านบาท เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุด นางนาก ที่ออกฉายต้นปี 2542 กวาดรายได้ไปถึง 149.6 ล้านบาท บางระจัน ของ ธนิตย์ จิตต์นุกูล กวาดรายได้ 151 ล้าน มือปืน/โลก/พระ/จัน ของผู้กำกับฯ ยุทธเลิศ สิปปภาค 123 ล้าน และ สตรีเหล็ก ของ ยงยุทธ ทองกองทุน 98.7 ล้าน ในปี 2544 ถือเป็นปีทองที่น่าจดจำของวงการภาพยนตร์ไทย อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยกำลังเข้าไปสู่ยุคการแข่งขันที่รุนแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นั่นเป็นเพราะกระแสโลกที่เป็นตัวกำหนดรสนิยมของการดูภาพยนตร์ของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไป พร้อม ๆ กับการเข้ามาของกลุ่มผู้กำกับฯ คลื่นลูกใหม่
ที่มีศิลปะในการจัดการทางด้านธุรกิจ การใช้สื่อโฆษณาทุกรูปแบบกระตุ้นผู้บริโภค แนวภาพยนตร์ มีทั้งแนวอิงประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ตลก ภาพยนตร์สยองขวัญ ภาพยนตร์ที่สร้างให้เกิดกระแสสังคม ภาพยนตร์ที่สะท้อนอุดมคติของความเป็นไทย ภายหลังการล่มสลายทางเศรษฐกิจ ผู้คนเริ่มหันกลับมาค้นหาคุณค่าของความเป็นไทยด้วยความรู้สึกชาตินิยมจึงถูกปลุกขึ้นมาในช่วงนี้ นอกจากนี้ ภาพยนตร์ไทยยังได้การยอมรับในต่างประเทศ ภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง หรือ The Protector ถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ที่สามารถขึ้นไปอยู่บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิส ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้ตีตลาดต่างประเทศ อย่างภาพยนตร์เรื่อง Goal Club เกมล้มโต๊ะ, สุริโยไท, จัน ดารา, บางระจัน, ขวัญเรียม, นางนาก, สตรีเหล็ก, ฟ้าทะลายโจร, บางกอกแดนเจอรัส และ 14 ตุลา สงครามประชาชน
และมีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เป็นที่ยอมรับในเทศกาลภาพยนตร์อย่าง บางกอกแดนเจอรัส (2543) ไปเปิดตัวที่งานเทศกาลหนังที่โทรอนโต หรือ เรื่องรักน้อยนิดมหาศาล ของเป็นเอก รัตนเรือง และในปี 2550 ภาพยนตร์ในรูปแบบชายรักชายเรื่อง เพื่อน…กูรักมึงว่ะ โดยผู้กำกับ พจน์ อานนท์ คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากการประกวดในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่ประเทศเบลเยียมมาได้ ภาพยนตร์เรื่อง พี่มาก..พระโขนง ที่ออกฉายใน พ.ศ. 2556 ปัจจุบันเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศ โดยทางจีทีเอช ผู้ผลิต ประมาณว่าภาพยนตร์ทำรายได้ทั่วประเทศ 1,000 ล้านบาท (เฉพาะกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 568.55 ล้านบาท)
In Youth We Trust (2024) วัยหนุ่ม 2544
‘ข้าพเจ้าเป็นผู้มีกรรมเป็นของตัวเองจึงต้องรับผลกรรมนั้น…’ เผือก เด็กสลัมที่เลือกเกิดมามีค่าเท่าคนอื่นไม่ได้จนต้องยอมนิ่งยอมเป็นเหยื่อให้คนอื่นรังแกมาตลอดเพื่อให้ ตัวเองได้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคม…จนกระทั่งวินาทีที่เขาตัดสินใจผิดพลาดครั้งใหญ่ในชีวิตเพื่อรักษาศักดิ์ศรีแม่ที่ เลี้ยงดูเขามาตามลำพังตั้งแต่เด็กด้วยการขายยา แต่เมื่อถูกส่งตัวมายังคุกวัยหนุ่ม เผือกจึงได้รู้ว่าโลกหลังกำแพงใบนั้นไม่ต่างจากกองขยะรวมเดนคนที่ถูกทิ้ง จากสังคม มันมืดมนและโหดร้ายกว่าโลกแห่งความจริงที่เขาเพิ่งจากมาโดยสิ้นเชิง แม้เผือกจะโชคดีที่ได้รับมิตรภาพข้างในนั้นจาก มะเดี่ยว กอล์ฟ และฟลุ๊ค แต่พวกเขาทุกคนก็ต้องคอยเอาตัว รอดจากขาใหญ่อย่างเบียร์และบอยที่ต้องการอยู่สูงสุดในวัฏจักรอุบาทว์แห่งนั้น ความฝันที่จะชดใช้กรรมจนหมดแล้วกลับออกไปเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้งเริ่มเลือนราง เหลือเพียงแค่ความ หวังที่จะอยู่รอดไปถึงวันพรุ่งนี้สถานการณ์บีบคั้นให้เผือกตัดสินใจอีกครั้งว่าเขาจะไม่ยอมเป็นเหยื่ออีกต่อ ไปแม้ต้องใช้ชีวิตที่เหลือด้วยผลกรรมครั้งใหม่ก็ตาม
แม้จะเป็นลูกสาวคนเดียว และขาดพ่อมาตั้งแต่เด็ก แต่ อัง ( อังศุมาลิน ชลาสินธุ์ ) ก็เติบโตมาท่ามกลางความรักและความอบอุ่นของ แม่อร เจ้าของสวนส้มริมน้ำเจ้าพระยา ฝั่งบางกอกน้อย กับ ยาย ( แม่ของอร ) พ่อของอังเป็นอดีตทหารเรือ ชื่อ หลวงชลาสินธุราช เขาพบรักกับอร เมื่อครั้งยังเป็นนักเรียนทหารเรือ จนได้เสียแต่งงานกัน แต่ญาติฝ่ายชายไม่ยอมรับอร เมื่ออรได้กำเนิดลูกสาวคนแรก ( อังศุมาลิน ) สามีก็จำต้องไปศึกษาวิชาการต่อเรือที่อิตาลี จากนั้นมาข่าวของชลาสินธุราชก็เงียบหายไป จนถึงกำหนดกลับ หลวงชลาสินธุราชก็ถูกคำสั่งจากญาติผู้ใหญ่ให้สั่งหย่าขาดกับอร อรจำยอมอย่างไม่มีสิทธิ์คัดค้าน แต่เพราะทิฐิ จึงมีข้อแม้ ห้ามไม่ให้เขามายุ่งกับอังศุมาลินอีกเป็นอันขาด อังฯมีเพื่อนชายที่รู้ใจและสนิทสนมกันมาตั้งแต่เด็ก ชื่อ วนัส นิสิตหนุ่มคณะวิศวฯ มหาลัยเดียวกัน วนัสแก่กว่าอังฯเล็กน้อย จึงต้องทำหน้าที่ดูแลอังฯเหมือนเป็นพี่ชายไปด้วย โดยที่ในใจลึกๆของเขาแอบรักอังมากกว่าน้องสาว ซึ่งแม้อังฯจะรับรู้ แต่ก็ไม่เคยเปิดโอกาสหรือตอบรับความในใจของวนัสเลยสักครั้ง เธอไม่ปฎิเสธ แต่เธอคิดว่ายังไม่พร้อมที่จะมีความรัก
วนัสเป็นลูกชายคนเดียวของ กำนันนุ่ม กำนันนุ่มเองก็เอ็นดูอังฯเหมือนลูกสาว เช่นเดียวกับแม่อรกับยายก็รักและเอ็นดูวนัสเหมือนลูกเหมือนหลาน จนกำนันนุ่มถึงกับเคยออกปากกับแม่อรเรื่องการหมั้นหมายอังฯให้วนัสเมื่อทั้งคู่ถึงวัยอันควร ซึ่งแม่อรก็ไม่ได้ปฏิเสธ วนัสได้ทุนไปเรียนต่ออังกฤษ เขากังวลที่จะต้องจากอังฯไปนานถึง 5 ปี กลัวความสัมพันธ์ระหว่างเขากับอังฯ จะเปลี่ยนไป ก่อนวันเดินทาง วนัสจึงถือโอกาสบอกรักอังฯใต้ต้นลำพู พร้อมกับขอให้อังสัญญาว่า จะรอเขาคนเดียว แม้จะเชื่อมั่นในตัววนัส แต่อังฯก็เลี่ยงตอบว่า เธอจะให้คำตอบวนัสทันทีที่เขากลับมา วนัสเดินทางไปอังกฤษ จดหมายติดต่อกับอังฯเป็นระยะ บอกเล่าถึงสงครามที่เริ่มคุกรุ่นในยุโรป ทำให้อังฯเป็นห่วงวนัส และแทบทุกคืนเธอจะเล่นขิม เพื่อเป็นสื่อความคิดถึงและห่วงใยของเธอส่งไปยังวนัส สงครามเริ่มแผ่ขยายเข้ามาถึงเมืองไทย ถึงกรุงเทพ ข่าวคราวจากทางยุโรปถูกตัดขาดอย่างสิ้นเชิง ทหารญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาตั้งฐานทัพในจุดต่างๆของกรุงเทพ ไม่เว้นแม้แต่ใกล้ๆสวนของบ้านอังฯ แต่สถานการณ์ยังราบรื่น เป็นปกติดี อังฯกับครอบครัวมีโอกาสได้รู้จักสนิทสนมกับ หมอโยชิ หมอชาวญี่ปุ่นผู้แสนใจดีและเป็นมิตร หมอโยชิเอ็นดูอังฯจนเสนอตัวสอนภาษาญี่ปุ่นให้เธอด้วยความเต็มใจ
The Elite of devils (2024) หม่อม
หลังจากถูกปรับตกยกกลุ่มวิชา Creative Textiles : การสร้างสรรค์ลายผ้า ด้วยการขโมยไอเดียของเพื่อนร่วมสาขา ทำให้ ไอซ์ มีน ฟิล์ม เจมส์ และ ปัญ ต้องตกที่นั่งลำบาก เมื่ออาจารย์วิภาให้โอกาสสุดท้ายกับพวกเขาไปทำโปรเจ็คท์ลายผ้าชนชั้นสูง ซึ่งเป็นงานสะสมอันทรงคุณค่าของหม่อมสลักจิต ผู้ดีเก่าปลายแถวตกยากที่ปลีกวิเวกมาใช้ชีวิตบั้นปลายกับคนดูแลสองคนในบ้านหลังเก่า ด้วยการขายสมบัติเก่า ๆ ประทังชีวิต หนึ่งในสมบัติสุดหวงแหนคือผ้าลายต่าง ๆ ที่ตกทอดมารุ่นสู่รุ่นและภาพวาดหญิงเวียตนามที่ใบหน้าเละเป็นหลุมชวนขนลุก หญิงวัยชราอย่างเธอไม่เพียงแต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเจ้ายศเจ้าอย่าง เคร่งครัด และเกลียดสิ่งใหม่ที่กำลังกลืนกินสิ่งเก่าดั้งเดิมที่เธอเคยเห็นและเติบโตมา แต่หม่อมสลักจิตยังมีความน่าสะพรึงกลัวในสภาพกึ่งผีกึ่งคน ค่ำคืนแห่งความสยองขวัญกำลังเริ่มต้นขึ้น!
Take Me Home (2016) สุขสันต์วันกลับบ้าน
แทน (มาริโอ้ เมาเร่อ) ชายหนุ่มความจำเสื่อมจากการประสบอุบัติเหตุ และไม่สามารถจำอะไรได้เลยนอกจากชื่อของตัวเอง เขาพยายามหาข้อมูลมาตลอดว่า เขาคือใคร และครอบครัวเขาอยู่ที่ไหน จนวันหนึ่งเขาได้พบหลักฐานบางอย่างซึ่งจะนำพาเขา กลับบ้านอันแสนสุขของเขาอีกครั้ง ในบ้านหลังนี้ แทน ได้พบกับ ทับทิม (วรรณรท สนธิไชย) พี่สาวฝาแฝดของ แทน ที่แต่งงานอยู่กินกับ ชีวิน (นพชัย ชัยนาม) พ่อหม้ายลูกสอง พร้อมด้วย แวว (นภาดา สุขกฤต) แม่บ้านผู้เลี้ยงดูแทนมาตั้งแต่เด็ก
Fast And Feel Love (2022) เร็วโหด เหมือนโกรธเธอ
เกา เขาคือแชมป์ Sport Stacking กำลังจะต้องลงแข่งแมตช์สำคัญที่ต้องปะทะกับคู่แข่งเด็กทั่วโลก เขาจะต้องเล่นให้ไวกว่า 4.6 วินาที อันเป็นสถิติใหม่ที่ผู้ท้าชิงลึกลับคนหนึ่งทำไว้ ดังนั้นสิ่งที่เขาต้องทำเป็นอย่างแรกคือ กวาดบ้านกับล้างจานเพราะไม่ได้ทำมา 10 วันแล้ว เอ๊ะเดี๋ยวนะ ปั๊มน้ำเสียตั้งแต่สองวันก่อนก็ยังไม่ได้เรียกช่างมาซ่อม อะไรกันนี่ วันนี้สรรพากรส่งจดหมายมาบอกว่าจะเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง อ้าวเพิ่งนึกได้ ลืมต่อใบขับขี่ เลยมาหลายเดือนเลยต้องไปสอบใหม่ เฮ้ย!!! เจ แฟนสาวกำลังจะทิ้งเขาแล้ว เมื่อชีวิตวัย 30 กำลังจะเร็วชนะเขา เกาจะเร็วพอที่จะกอบกู้ และคว้าทุกอย่างเอาไว้ได้ทันเวลาหรือไม่
Crazy Crying Lady (2012) คุณนายโฮ
คุณนายโฮ (ชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต) ผู้หญิงที่มีความฝันเรื่องการมีลูกมาตั้งแต่เด็ก เธอเป็นผู้หญิงที่ร้องไห้งอแง มีพ่อเป็นทหารผ่านศึกชื่อว่า ผู้กองบูรพา (ค่อม ชวนชื่น) พ่อก็มีความฝันว่าอยากกลับไปรบอีกครั้ง ส่วนน้องชายของเธอคือ นาวา ที่เรียกตัวเองว่า นานา (โก๊ะตี๋ อารามบอย) ที่ถูกพ่อบังคับให้แมน ตามอย่างชายทหาร เมื่อน้องชายถูกบังคับทำให้พ่อและน้องไม่เข้าใจกัน ยิ่งเมื่อมีปัญหาเรื่องแฟนเธอก็ยิ่งจะร้องไห้ไม่หยุด แฟนหนุ่มของโฮคือ บอย (เรย์ แมคโดนัลด์) ที่อยากจะมีอะไรกับโฮอยู่ตลอด แต่โฮที่อยากมีลูกแทบตาย เธอก็ยังไม่พร้อมที่จะเสียตัว เธอร้องไห้ไม่หยุดไม่รู้จะแก้ยังไง แต่ยังดีที่มีเพื่อนหมอ ด็อก (อาเล็ก ธีรเดช เมธาวราวุธ) หมอที่คอยอยู่ข้าง ๆ โฮตลอด และรู้ความรับของเธอว่าเธอเป็นคนที่รักนวลสงวนตัวแบบดูหนังออนไลน์หญิงไทยโบราณ แล้วเมื่อโฮตรวจพบว่าเธอมีมดลูกเก่าแล้วต้องรีบมีลูก ก่อนที่มดลูกนั้นจะใช้ไม่ได้
เรื่องราวของ “พิณ”(พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์) หญิงสาวที่มีความรักอย่างลับๆ กับพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งมานาน ด้วยความสัมพันธ์ที่ผิดจารีตนี้ทำให้เธอต้องทุกข์ทรมานอยู่กับความผิดบาปในใจ จนในที่สุดเธอก็ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองภายในกุฏิที่เป็นรังรักของเธอกับพระสงฆ์รูปนั้น จนกระทั่งการมาถึงของ “ซัน” (ชาลี ปอทเจส) เด็กหนุ่มวัยคะนองที่มาบวชในวัดป่าแห่งนี้เพื่อหนีความผิดบางอย่าง กุฏิร้างที่ถูกปิดตายมานานหลังนั้นจึงถูกเปิดขึ้นอีกครั้งจากการขอจำวัดแยกกับพระรูปอื่น การบวชอย่างไม่เต็มใจนี้ทำให้ซันยังคงใช้ชีวิตปกติเสมือนวัยรุ่นทั่วไปถึงแม้ตนเองจะห่มผ้าเหลืองแล้วก็ตาม รวมไปถึงการแอบคบหากับ “ฝ้าย” (พลอย ศรนรินทร์) สาววัยรุ่นผู้โหยหาความรัก และดูเหมือนว่าความรักครั้งนี้จะเป็นสิ่งเดียวที่ยึดเหนี่ยวให้ทั้งคู่เชื่อมั่นว่ามันไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด ทุกการกระทำที่ท้าทายของซัน ทำให้เขาต้องเข้ามาพัวพันกับความลับที่น่าสะพรึงกลัว อดีตอันดำมืดที่กำลังย้อนกลับมาเอาคืน กฎแห่งกรรมที่ยังไม่หลุดพ้นของคนในวัด และการถูกเฝ้ามองจากสิ่งที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “เปรต”
เรื่องราวของหญิงสาวชื่อ แพร (วนิดา เติมธนาภรณ์) สาวสวยอดีตดาวมหาวิทยาลัย เธอทำงานอยู่ฝ่ายจัดซื้อของบริษัทขนส่งสินค้าในนิคมอุตสาหกรรมย่านมาบตาพุด ด้วยความที่เธอเป็นคนสวยทำให้ถูกมองว่าเป็นดาวของบริษัท เช่นกันมีผู้ชายในบริษัท หลายคนหมายปองเธอ บ้างทำทีท่ามาจีบ บ้างก็แกล้งแซว โดยเฉพาะ ประวิทย์ (เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง) หัวหน้าเธอที่คอยเอ็นดูเธอออกนอกหน้านอกตาจนเพื่อนร่วมงานของเธอ หลายคนไม่พอใจและหมั่นไส้ จนเป็นเหตุให้โดนแกล้งที่ทำงานอยู่บ่อยๆ จนเธอรู้สึกกดดัน และอยากออกจากที่นี่ ขณะเดียวกัน ที่บ้านแพรอาศัยอยู่กับพ่อเลี้ยงของเธอชื่อ เดช (โกวิท วัฒนกุล) เพราะพ่อของเธอเสียตั้งแต่เธอยังเด็ก และแม่ของเธอก็เป็นคนอ่อนแอ ป่วยออดๆแอดๆ จนเมื่อหลายเดือนก่อนเธอจะเข้าทำงาน แม่ของเธอก็ล้มป่วยไม่ได้สติต้องนอนอยู่ที่โรงพยาบาลนับตั้งแต่นั้น เดชจึงเผยธาตุแท้ว่าเขาเองก็คิดไม่ซื่อกับแพรเหมือนกัน จะเห็นเขาพยายามทวงบุญคุณแพรเรื่องที่เขาฝากงานให้ทำกับประวิทย์อยู่เสมอ
แพรมีรุ่นน้องคนสนิทอยู่หนึ่งคนชื่อ เล็ก (ปราโมทช์ เทียนชัยเกิดศิลป์) เขารู้จักแพรตั้งแต่เด็ก เรียนที่เดียวกันมาตลอด แม้ทำงานแล้วเล็กก็ยังได้ทำงานที่เดียวกับแพร แต่อยู่แผนก IT แพรเลยรู้สึกสบายใจที่อย่างน้อยในบริษัทนี้ก็มีคนที่เธอไว้ใจได้หนึ่งคน แต่สิ่งที่แพรไม่รู้คือ จริงๆ แล้วเล็กก็แอบชอบแพรเหมือนกัน และชอบมานานแล้วด้วย ด้วยความที่เล็กนั้นเป็นผู้ชายที่ไม่มีจุดเด่นอะไรเลย แถมหน้าตายังออกไปทางจืดๆ เขาจึงรู้สึกว่าตัวเองคงไม่สามารถครอบครองแพรมาเป็นของตนได้ เขาเลยต้องพึ่งน้ำมันพรายที่ได้จากเพื่อนของเขาอีกที หลังจากเขาได้มาเขาก็ตัดสินใจใช้ในคืนที่แพรเลี้ยงข้าวเล็กเพื่อตอบแทนที่เล็กช่วยเป็นไม้กันหมาให้เธอกับประวิทย์ แต่ผลของการใช้ดันไม่เป็นอย่างที่หวัง เพราะหลังจากเขาใช้น้ำมันพราย วิญญาณผีตายทั้งกลมซึ่งอยู่ในน้ำมันพรายได้เข้ามาสิงสู่อยู่ในร่างของแพร และได้ออกมาหลอกหลอนเล็ก ทำให้เล็กหนีเตลิดไป กว่าแพรจะรู้ตัวอีกที เธอก็จำอะไรไม่ได้ และเล็กก็หายไปจากชีวิตเธอตั้งแต่นั้น
Sin Sisters (2002) ผู้หญิง 5 บาป
แอน (ศลยา ปิ่นนรินทร์), จอย (ทอฝัน จิตธาราทิต), ก้อย (กมลชนก เวโรจน์), แหม่ม (ชุติมา เอเวอรี่), จุ๋ม (คลาวเดีย จักรพันธุ์) สาวทั้ง 5 เป็นเพื่อนรักมาตั้งแต่เรียนมัธยม เมื่อเรียนจบและแยกย้ายกันไปต่างคนก็ต่างมีวิถีชีวิตของตนเอง จนกระทั่งวันหนึ่งทุกคนได้มาเจอกันในงานศพแห่งหนึ่ง และคืนวันนั้นทุกคนก็ค้างคืนที่บ้านของจุ๋ม เมื่อได้ดื่มไวน์เข้าไปพอมึน ๆ เรื่องราวของประสบการณ์ทางเพศของแต่ละคนต่างก็ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องเล่า ซึ่งแต่ละคนต่างก็เป็นเรื่องราวที่ไม่น่าเชื่อ แม้กระทั่งจุ๋มคนที่ดูเหมือนว่าจะเงียบเรียบร้อยที่สุด แต่ปรากฏว่าประสบการณ์ของเธอนั้นหวือหวาที่สุด
[/read]