หนัง Drama ดราม่า ในภาพยนตร์และโทรทัศน์ ดรามา หรือ นาฏกรรม บ้างเรียก ภาพยนตร์ชีวิต หรือ ละครชีวิต (อังกฤษ: Drama) เป็นประเภทของเรื่องเล่าบันเทิงคดี (หรือกึ่งบันเทิงคดี) ที่มีความเอาจริงเอาจังกว่าความตลกขบขันเชิงโทน (tone) ดรามาประเภทนี้มักได้รับการยอมรับอย่างเป็นกิจลักษณะด้วยคำศัพท์เพื่ออธิบายความเฉพาะของประเภทย่อยมาก (super-genre), ประเภทย่อยที่หลากหลาย (macro-genre) หรือ ประเภทย่อยน้อย (micro-genre) เช่น ละครชุดชาวบ้าน (soap opera), ดรามาอาชญากรรมตำรวจ, ดรามาการเมือง, ดรามากฎหมาย, ดรามาอิงประวัติศาสตร์, ดรามาครอบครัว (domestic drama), ดรามาวัยรุ่น (teen drama), และ หัสนาฏกรรม (comedy drama, dramedy) คำศัพท์เหล่านี้มีไว้เพื่อชี้ให้เห็นถึงฉากท้องเรื่อง (setting) หรือสาระสำคัญของเรื่องอย่างเจาะจง มิฉะนั้น จะถูกมองเป็นอื่นว่ามีโทนดรามาที่เอาจริงเอาจังกว่าโดยส่วนประกอบที่ส่งเสริมกรอบของอารมณ์ (mood) ที่กว้างกว่า ด้วยเหตุนี้
องค์ประกอบหลักของดรามาคือการเกิดขึ้นของความขัดแย้ง, อารมณ์, สังคม หรือองค์ประกอบอื่น และการแก้ปัญหานั้น ๆ ในลำดับเหตุการณ์ของเนื้อเรื่อง ภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ทุกรูปแบบที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องบันเทิงคดี (fictional stories) คือหนึ่งในรูปแบบของนาฏกรรมโดยภาพรวมหากการเล่าเรื่องนั้นสำเร็จผ่านนักแสดงผู้ทำหน้าที่แทนเป็น (การจำลอง) ตัวละคร ในความหมายที่กว้างขึ้น ดรามาคืออารมณ์ (mode) ซึ่งแตกต่างจากนวนิยาย, เรื่องสั้น, และกวีนิพนธ์เรื่องเล่า (narrative poetry) หรือเพลง ในยุคสมัยใหม่ก่อนการเกิดขึ้นของภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ “ดรามา” ในโรงภาพยนตร์เป็นส่วนหนึ่งในประเภทของละครเวทีซึ่งไม่ใช่ทั้งสุขนาฏกรรมหรือโศกนาฏกรรม ดังนั้นจึงมีการสร้างความหมายให้แคบลงโดยอุตสาหกรรมภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ อย่างไรก็ดีการจำกัดความสำหรับ “ละครวิทยุ” นั้นสามารถแสดงประเภทของละครเวทีได้ทั้งสองแบบ
[read more]
คำสแลงหมายถึง เรื่องราวข่าวลือ เรื่องโกหก เรื่องที่กล่าวเกินจริง หรือเรื่องราวระหว่างบุคคลที่มีการแสดงที่ท่าเกินจริง คำสแลงในภาษาไทยในปัจจุบันยังอาจหมายถึงเรื่องราวความขัดแย้งหรือการทะเลาะเบาะแว้งกันของบุคคลสองฝ่าย
คนไทยสมัยนี้ชอบพูดว่าคนนี้ดราม่า คนโน้นดราม่า คำนี้มาจากภาษาอังกฤษว่า dramatic และ drama queen หมายถึง แสดงอารมณ์ที่มากเกินความเป็นจริง หรือแสดงเกินความเหมาะสม บางทีก็หมายถึง แสดงอาการบางอย่างออกมาโดยที่ไม่ได้มีความรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ เช่นบอกว่า สุดาดราม่า เธอไม่ได้รู้สึกเสียใจอย่างนั้นจริงๆ ซะหน่อย ทุกวันนี้คำว่า “ดราม่า” เป็นคำที่มีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น คำว่า “ดราม่า” ที่เราใช้กันอยู่ เป็นคำทับศัพท์ที่มาจากคำว่า “Drama” ในภาษาอังกฤษ ในตอนแรกๆ เราใช้คำนี้ในความหมายของการแสดง เช่น การแสดงละคร เราก็เรียกดราม่า คำว่าดราม่าในความหมายนี้ ยังมีความหมายย่อยไปอีกว่า การแสดงที่มีลักษณะฟูมฟาย พิรี้พิไร หรือแสดงออกทางอารมณ์จนล้น จัดจ้านเกินพอดี แต่คำว่า “ดราม่า” ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตอนนี้ โดยเฉพาะในโลกสังคมออนไลน์ เป็นคำสแลงที่ีหมายถึง การนำเสนอเรื่องราวความขัดแย้ง ที่เกิดจากความคิดที่แตกต่าง จนทำให้เกิดความเบื่อหน่าย น่ารำคาญแก่คนอื่น (แต่คนชอบติดตามอ่านหรือเสพย์) ความหมายคำว่า “ดราม่า” ในแง่นี้ ยังกินความไปถึงพฤติกรรมหรือการแสดงออกที่เกิดจากการขัดแย้งนั้นจนเกินพอดี สังคมออนไลน์ทำให้เกิดคำว่าดราม่า และยังสร้างวัฒนธรรมดราม่าให้เกิดขึ้นในสังคมนี้อีกด้วย
เรามาเสียน้ำตาไปด้วยกันเถอะกับหนังเศร้า รับรองดูแล้วบ่อน้ำตาแตกแน่นอน! ใครที่เป็นคอหนังดราม่า ซึ้งๆ ชอบน้ำตาไหลต้องดูให้ได้ เพราะแต่ละเรื่องคือเศร้าจริง บางเรื่องเนี่ยร้องไห้ไป 2-3 วันเลยล่ะ แถมบางเรื่องดูกี่ครั้งก็ร้องไห้เหมือนเดิม เชื่อเหอะ เพราะนี้ร้องมาล้าววว ฮรือออ แต่ละเรื่องคือคัดมาแล้วว่าเศร้าจริง เตรียมกระดาษทิชชู่ไว้ซับน้ำตาเลย ขอบอกว่าม้วนเดียวไม่พอกับน้ำตาที่ไหลออกมาแน่
Love Rosie (2014) เพื่อนรักกั๊กเป็นแฟน
เรื่องนี้ดูไปน้ำตาคลอไป ใครเคยมีประสบการณ์แอบรักเพื่อนจะเข้าใจ เป็นเรื่องราว ระหว่าง โรซี่ ดันน์ กับ อเล็กซ์ สจ็วต ที่สนิทกันมาตั้งแต่เด็ก และตั้งใจว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยเดียวกัน แต่โรซี่เกิดพลาดตั้งท้องขึ้นมาหลังเรียนจบไฮสคูล จึงตัดสินใจปิดเป็นความลับ และปล่อยให้อเล็กซ์ไปมีชีวิตที่ดี จนทั้งคู่ได้กลับมาพบกันอีก ใน 12 ปีต่อมา
The Shawshank Redemption (1994) มิตรภาพ ความหวัง ความรุนแรง
หนังเก่าที่กลับมาดูกี่ครั้งก็ยังสะเทือนใจ เรื่องราวเล่าถึงชีวิตในคุกของ แอนดี้ ดูเฟรนส์ แอนดี้ นายธนาคารหนุ่มที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนฆาตกรรมเมียและชายชู้ จนต้องจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งเขาใช้เวลาทั้งหมด 19 ปี ในการแอบขุดรูขนาดใหญ่จนสามารถแหกคุกออกไปได้สำเร็จ เป็นหนังที่เศร้าและยังได้ลุ้นทุกวินาที
หลายคนอาจรู้จักและคุ้นภาพของ ไวโอลา เดวิส ดาราสาวมากฝีมือวัย 59 ปี จากบทบาทของแอนนาลีส คีตติง ทนายสาวดวงแข็งจากซีรีส์ดราม่าเข้มข้น How to Get Away with Murder หรือภาพยนตร์ดราม่า-ตลกเสียดสีสังคม The Help ที่แจ้งเกิดดาราหลายคนในเรื่องแบบยกเซ็ต แต่คุณอาจไม่รู้ว่าสาวเก่งคนนี้เป็นดาราหญิงผิวสีคนที่ 3 ที่ได้เข้ากลุ่ม EGOT (กลุ่มนักแสดงที่ถือครองรางวัลจาก 4 เวทีอันทรงเกียรติ ได้แก่ Emmy, Grammy, Oscars และ Tony Awards) ต่อจากวูปี้ โกลด์เบิร์ก และเจนนิเฟอร์ ฮัดสัน ซึ่งทำให้ไวโอลากลายเป็นดาราผิวสีที่ค่าตัวแพงที่สุดคนหนึ่งในวงการฮอลลีวูดไปโดยปริยาย แต่กว่าจะเดินทางมาถึงวันนี้ได้ ไวโอลาได้ผ่านบทบาทการแสดงมาอย่างมากมาย ซึ่งมีทั้งล้มเหลวในเชิงรายได้ และประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด โดยบทบาทส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงอารมณ์เดือดๆ ในหนังดราม่าที่เธอทำได้ดีตามมาตรฐานไม่มีตกหล่น และนี่คือ รายชื่อหนังดราม่าเรียกน้ำตา จากฝีมือของดาราเจ้าบทบาท ไวโอลา เดวิส ที่ทรูวิชั่นส์ นาว แนะนำว่าคุณไม่ควรพลาด
ภาพยนตร์แนวชีวิตที่เต็มไปด้วยฉากการส่งอารมณ์อย่างสมจริง ระหว่างไวโอลา เดวิส กับ เดนเซล วอชิงตัน จนส่งให้เธอคว้าออสการ์ตัวแรกไปครองได้สำเร็จ หนังเล่าเรื่องราวของ โรส กับ ทรอย สามีภรรยาคู่หนึ่งที่อยู่กินกันมายาวนานเกือบ 20 ปี ทั้งคู่มีลูกชายหนึ่งคนที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักกีฬาอาชีพ แต่ทรอยไม่เห็นด้วยกับความคิดนั้น เขาจึงกลายเป็นไม้เบื่อไม้เมากับลูกชายอยู่ตลอดเวลา แถมยังละเลยไม่สนใจความรู้สึกของเมียมาตลอด จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อเขาเผลอใจกับหญิงคนอื่น ความอัดอั้นตันใจที่โรสเก็บกดเอาไว้จึงกลายเป็นระเบิดลูกโต
The Woman King มหาศึกวีรสตรีเหล็ก
เพื่อมารับบทนักรบหญิงผู้แข็งแกร่งแห่งเผ่าอโกจี (Agojie) ที่ลุกฮือขึ้นปกป้องอาณาจักรของตนเองจากการถูกไล่ล่าจากชาวยุโรปในการนำเอาคนผิวสีไปค้าเป็นทาส ไวโอลาต้องใช้ชีวิตกว่าวันละ 5 ชั่วโมงในยิม เพื่อฝึกความเข้มแข็งของกล้ามเนื้อ และฟิตร่างกายให้ดูกำยำสมกับเป็นวีรสตรี ซึ่งความทุ่มเทและมีวินัยอย่างแรงกล้าทำให้ไวโอลาถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอย่างมากมาย
The Help (2011) คุณนายตัวดี สาวใช้ตัวดำ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพยนตร์เรื่อง The Help เป็นภาพยนตร์ดราเมดี้ที่สามารถแจ้งเกิดดาราได้ยกเซ็ต นอกจากไวโอลา เดวิส ที่เล่นได้ยอดเยี่ยมจนเข้าชิงรางวัลออสการ์แล้ว ดาราสาวมากฝีมือ เอ็มมา สโตน, เจสสิกา แชสเทน, ออคตาเวีย สเปนเซอร์ และ ไบรซ์ ดัลลัส ฮาวเวิร์ด ต่างก็แจ้งเกิดเฉิดฉายจากหนังเรื่องนี้ทั้งสิ้น ซึ่งแม้จะมีมุขตลกให้ขำขันตลอดทั้งเรื่อง แต่เมื่อถึงจุดที่ต้องดราม่าทุกคนต่างก็ทำได้ดีไม่แพ้กัน เรื่องราวของกลุ่มแม่บ้านชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ในยุค 1960 ที่ในทุกวันต้องแยกย้ายกันไปทำงานรับจ้างเป็นแม่บ้านให้กับครอบครัวคนผิวขาว ซึ่งแต่ละคนก็เจอกับการดูหมิ่นเหยียดหยามต่างๆ นานา จนกระทั่งหมดความอดทนต้องหาทางสู้กลับในตอนท้าย
Ma Rainey’s Black Bottom มา เรนีย์ ตำนานเพลงบูลส์
ตำนานราชินีเพลงบูลส์ มา เรนีย์ ถูกหยิบยกนำมาเล่าขานในรูปแบบของภาพยนตร์ รับบทโดยไวโอลา เดวิส ประกบกับ แชดวิก โบสแมน ผู้ล่วงลับ กับการเล่าเรื่องราวการต่อสู้เรื่องความเท่าเทียมของสีผิว เพศสภาพ รวมถึงการกดขี่จากนายทุนผ่านผลงานเพลงบูลส์ การเล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมาและการแสดงอย่างสมจริง ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกเสนอชื่อเข้าชิง 5 รางวัลออสการ์ด้วยกัน
Doubt ปริศนาเกินคาดเดา
หนึ่งในภาพยนตร์ดราม่าทริลเลอร์ขึ้นหิ้ง กับเรื่องอื้อฉาวที่เกิดขึ้นในโบสถ์เซนต์นิโคลัส ปี 1964 ที่ได้ดาราระดับแม่เหล็ก เมอรีล สตรีฟ มาปะทะฝีมือกับ ฟิลิป เซย์มัวร์ ฮอฟแมน และเอมี อดัมส์ ที่ยกขบวนกันเข้าชิงรางวัลออสการ์กันถ้วนหน้า รวมถึงไวโอลา เดวิส ในสาขาสมทบหญิงยอดเยี่ยมอีกด้วย
[/read]